วันอาทิตย์ที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

มาร่วมติดตามคดีความ ...

เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสูง ล้ำเข้าไปในเขตควบคุมการก่อสร้างชายทะเล..

ว่าน่าเจ็บปวดขนาดไหน

.

ภาพนี้บอกเราได้ในระดับหนึ่งว่า
อาคารวิวทะเล คอนโดมิเนียม 7 จอมเทียน-พัทยา
ซึ่งสูงถึง 27 ชั้น หรือสูง 81 เมตร
ได้ก่อสร้างติดชายหาดขนาดไหน และล้ำเส้นกฏหมายหรือไม่


ทั้งๆที่..
มีกฎหมายคุ้มครองเขตควบคุมการก่อสร้างอาคารบริเวณชายฝั่ง
ที่ประกาศออกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2521 ที่ใช้อยู่ คือ
กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2521)
ที่ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 14 เมตร
ภายในบริเวณชายฝั่งทะเล.... ออกบังคับใช้อยู่แท้ๆ




อาคารสูงเกิน 14 ชั้น จะทำลายชายฝั่งอย่างไร

1. บรรดาธรรมชาติ..ที่มีอยู่แต่เดิมก่อนการสร้างตึกที่มีขนาดใหญ่ๆ..ก็ถูกทำลาย เพื่อสร้างอาคารที่ทั้งสูงทั้งใหญ่ทดแทน

2. บรรดาวิวทิวทัศน์ธรรมชาติ...เปลี่ยนเป็นวิวตึกสูง บรรยากาศเสียไปโดยสิ้นเชิง... เสียให้กับกลุ่มซีเมนต์และคอนกรีต

3. ขยะ น้ำเสีย การทำลายทุกด้าน...จากการใช้ของผู้อยู่อาศัยมากหน้าหลายตาที่ปักหลักอยู่อย่างถาวร... ไม่ใช่นักท่องเที่ยวที่ผ่านไปมา... หรือแวะเยี่ยมเยือนเป็นครั้งคราวอีกต่อไป

4. การล่วงล้ำธรรมชาติ...เพื่อตักตวงประโยชน์อย่างเห็นแก่ตัว...อย่างถาวร... คนทั่วๆไป..ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากธรรมชาติบริเวณนั้นได้อีกเลย

ชัดพอหรือไม่ ?





มาติดตามดูกันว่า เรื่องนี้เกิดได้อย่างไร....

สะอาดหรือสกปรกแค่ไหน

.
ที่ผ่านมา... ศาลปกครองของไทย...ได้ให้ความยุติธรรม และมีความกล้าในการทำเพื่อประเทศชาติแค่ไหน

และในอนาคต... ที่เรากำลังรอผลอุทธรณ์คดีอยู่นี้ ....

ศาลจะมีความยุติธรรมต่อคดีนี้ และกล้าที่จะสร้างมาตรฐานที่ถูกต้องให้ประเทศเพียงใด



คดีนี้เกิดขึ้นเพราะเราเชื่อมั่นในกฎหมาย... เราจึงลงรากปักฐาน ณ ชายหาดจอมเทียน พัทยานี้

ก่อนที่เราจะเลือกอยู่ที่นี่ เรารูว่ามีกฎกระทรวงฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2521 ) ที่ประกาศออกมาคุ้มครองบริเวณชายฝั่งทะเล ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว

เราคิดว่ากฎหมายนั้น จะคุ้มครองเราได้ แต่มีนายทุนใหญ่บางราย ที่สามารถ ทำให้กฎหมายนั้นๆ กลับเอื้อประโยชน์ต่อพวกเขาได้ ตลกสิ้นดี.......

ความผิดอยู่ที่ใคร.....

เจ้าพนักงานของรัฐผู้ให้อนุญาตก่อสร้างอาคารติดชายทะเล.....ตามการรับรองของหน่วยงานที่มาตรวจสอบก่อนหน้า..... หรือ

เจ้าพนักงานของรัฐผู้มาตรวจสอบแล้วรับรองว่าอาคารที่นายทุนจะก่อสร้างนั้น..... ไม่ล้ำเข้ามาในเขตต้องห้าม.... โดยที่การตรวจสอบนั้น..... ส่งผลอย่างน่าเคลือบแคลงที่ตรงกันข้ามกับการคุ้มครองชายฝั่งทะเลจากการก่อสร้างอาคารสูงใหญ่....... หรือ

ศาล..... ที่ให้คำพิพากษาแปลกๆ ...... เหมือนมีอะไรที่ส่งกลิ่นไม่ดีแฝงอยู่..... หรือ

พวกเราเอง ที่ไม่ยอมรับว่า...... ในหลายๆครั้ง....... อำนาจเงินนั้น ยิ่งใหญ่กว่าความถูกต้อง และเราควรยอมรับชะตากรรม เฝ้าดูการถดถอย.... ที่แฝงมาในรูปอารยธรรมสิ่งปลูกสร้าง อันสูงใหญ่ตระการตา..... เช่นนั้นหรือ

ใครผิด !!!!!!!


.

.

ลองอ่านกันดูนะคะ ว่ากฎหมายที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ ได้ระบุความคุ้มครองชายฝั่งทะเลด้านนี้ไว้อย่างไร

.

.
กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 กำหนดว่า...บริเวณภายในระยะ 200 เมตร โดยวัดจากเขตควบคุมการก่อสร้างอาคาร ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร

พ.ศ.2479 ในท้องที่ตำบลบางละมุง ตำบลหนองปลาไหล ตำบลนาเกลือ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2521.....ด้านริมทะเล เป็นบริเวณซึ่งอาคารชนิดดังต่อไปนี้จะปลูกสร้างขึ้นมิได้...
(1) สถานที่เก็บและจำหน่ายเชื้อเพลิง
(2) โรงมหรสพ
(3) ห้องแถว
(4) ตึกแถว
(5) ตลาดสด
(6) โรงซ่อมหรือโรงพ่นสีรถยนต์หรือจักรยานยนต์
(7) โรงเก็บสินค้า
(8) อาคารที่มีความสูงจากระดับถนนเกิน 14 เมตร

.

.

ทีนี้ต้องมาเข้าใจกันก่อนว่า...

เขตควบคุมการก่อสร้างอาคารที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับนี้... ให้เริ่มวัดตรงจุดใด

มีการสำรวจแล้วพบว่า...

ให้เริ่มวัดที่จุดน้ำทะเลปานกลาง... ซึ่งอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งนั่นเอง

.

.

กฎกระทรวงนี้... ออกมาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับก่อน ที่ครอบคลุมไม่ทั่วถึงในบางจุดของท้องที่ ซึ่งคาดว่าเป็นท้องที่ชายทะเล...นั่นคือ

.

.

กฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2519)

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479ฯ

ที่กำหนดระยะควบคุมเพียง 100 เมตร วัดจากเขตควบคุมการก่อสร้างอาคาร ..

ซึ่งมีเหตุผล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเจตนารมณ์ในการประกาศ

ใช้กฎกระทรวงดังกล่าวคือ

.

.

“ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479... ในเขตท้องที่บางแห่งในตำบลบางละมุง ตำบลนาเกลือ และตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2499 และท้องที่ดังกล่าวเป็นสถานที่ตากอากาศของประชาชน..... สมควรห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารบางชนิดที่เห็นว่าอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ และก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลต่างๆ และทำให้สภาพแวดล้อมเสียไป.....

จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงฉบับนี้”

.

.

ทำไมจึงต้องออกกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2519)
จากบันทึกหลักการและเหตุผล

ประกอบการเสนอร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2519)ฯ

และรายงานการประชุมพิจารณาร่างกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวข้างต้น

.

.

เห็นได้ว่า หลักการและเหตุผล หรืออีกนัยหนึ่งคือเจตนารมณ์ของการตรากฎหมาย.....

เนื่องมาจากมีการปลูกสร้างอาคาร ที่พักตากอากาศ โรงแรม แฟลต เป็นจำนวนมาก จึงห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารบางชนิด ที่เห็นว่า อาจเกิดความเดือดร้อน รำคาญ และก่อให้เกิดสิ่งปฏิกูลต่างๆ และทำให้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียไป....

.

.

จึงเห็นได้ชัดเจนเป็นอย่างยิ่งว่า....

เจตนารมณ์ของกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2519)ฯ

ต้องการควบคุมอาคารที่จะก่อสร้างบนพื้นดินเท่านั้น

...........................................................................................

.

ภาพนี้บอกอะไรคุณบ้าง....

อาคารสูง 27 ชั้น หรือสูงถึง 81 เมตร สร้างติดทะเลได้ขนาดนี้เชียวหรือ

บริษัทวิวทะเลฯอ้างว่า อาคารของตนอยู่นอกระยะ 200 เมตร

ที่ห้ามก่อสร้างอาคารสูง จากเขตควบคุมการก่อสร้าง วัดตรงระดับน้ำทะเลปานกลาง

กฎหมายถูกพับเก็บ เหน็บไว้ข้างฝาหรืออย่างไร

.

.


และเพื่อให้สอดคล้องกับการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้น

จึงได้มีการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 9 (พ.ศ.2521)

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 โดยมีเหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าว คือ “เนื่องจากได้มีการปรับปรุงเขตควบคุมการก่อสร้างอาคารในท้องที่ ตำบลบางละมุง ตำบลนาเกลือ และตำบลหนองปรือ โดยขยายให้กว้างออกไปกว่าเดิม ตามที่ปรากฏในแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ในท้องที่ ตำบลบางละมุง ตำบลหนองปลาไหล ตำบลนาเกลือ ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2521 สมควรแก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2519) ออกความตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2479 ว่าด้วยการห้ามมิให้ปลูกสร้างอาคารบางชนิดภายในแนวเขตควบคุมการก่อสร้างอาคารตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวนี้เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้”

กำลังสร้างเว้ปไซท์อยู่ค่ะ
โปรดรอสักนิด คุณจะได้เป็นพยานและกำลังเสริมในคดีที่อาจจะพลิกประวัติศาสตร์ศาลปกครองของไทย หากเราทุกคนช่วยกัน บางทีผู้มีอำนาจใช้กฎหมาย.....อาจจะกล้าตัดสินคดีให้ถูกต้อง และเพื่อความถูกต้องได้



ฉะนั้น จากข้อมูลข้างบนนี้ คุณๆเริ่มส่งความคิดเห็นตอบคำถามนี้มากันได้เลยว่า.............

1. คุณคิดว่าการวัดระยะโดยกรมโยธาฯ เมื่อมีการขอก่อสร้างอาคารสูงๆ เกิน 14 เมตรใกล้ชายหาดนั้น(ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 9) เพื่อดูว่าอาคารสูงนั้นล้ำมาในเขตห้ามและสร้างใกล้ทะเลเกินไปหรือไม่ ซึ่งปกติจะต้องวัดจากระดับน้ำทะเลปานกลางซึ่งเป็นเขตควบคุมการก่อสร้างอาคารสูง ไป 200 เมตรนั้น(ตามฉบับที่ 9)ซึ่งเป็นกฎหมายล่าสุด

- ควรวัดตรงขึ้นบนบกเพื่อหาระยะต้องห้ามที่ห้ามสร้างอาคารสูง

- หรือควรวัดลงไปในทะเลก่อน 100 เมตร แล้วย้อนกลับมาบนฝั่งอีก 200 เมตร

- หรือวัดลงไปในทะเล 100 เมตร แล้วกลับมาที่จุดเดิม วัดขึนบนฝั่ง 100 เมตร

คุณว่าตามสามัญสำนึกแล้ว การตีความเพื่อขยายการคุ้มครองชายฝั่งจากการก่อสร้างอาคารสูงนั้น ควรวัดโดยวิธีใด